วันจันทร์, ธันวาคม ๒๔, ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ประเทศไทยใช้งาน

1.ดาวเทียม Landsat
Landsat เป็นชื่อของชุดดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่ขึ้นสู่วงโคจร และทำการบันทึกข้อมูลพื้นผิวโลกมาเกือบ 3ทศวรรต (ดาวเทียมดวงแรกของโครงการถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 23กรกฎาคม 1972 และต่อมาดาวเทียมถูกเรียกว่า Landsat ในปี 1975) ภาระกิจของ Landsatคือการสำรวจข้อมูล และเผยแพร่เพื่อการใช้ประโยชน์ของพลเรือน โดยได้มีการพัฒนาอุปกรณ์สำรวจบนดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง ในช่วงแรกของโครงการ ดาวเทียม Landsat 1, 2 และ 3 ติดตั้งเครื่องมือสำรวจที่เรียกว่า MSS (Multi-Spectral Scanner) ดาวเทียมรุ่นต่อมา (Landsat 4 และ 5) ติดตั้งเครื่องมือสำรวจที่เรียกว่า TM (Thematic Mapper) และดาวเทียม Landsat 7 ติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า ETM (Enhanced Thematic Mapper)
คุณลักษณะของดาวเทียมและอุปกรณ์บนดาวเทียม
Landsat 1-3 Landsat 4-5 Landsat 7 วงโคจรแบบ near-polar sun -synchronized ความสูงของวงโคจร (กิโลเมตร) 917 705 705 มุมเอียงของวงโคจร (องศาจากระนาบศูนย์สูตร) - 98 98 เวลาตัดแกนศูนย์สูตรจากเหนือลงใต้ 10.00 น. คาบของการกลับมาสำรวจซ้ำ ณ ตำแหน่งเดิม (วัน) 18 16 16 ความกว้างของแถบสำรวจ (กิโลเมตร) 183
อุปกรณ์สำรวจที่สำคัญ
MSS multispectral scanning radiometer 4 ช่วงคลื่น
TM multispectral scanning radiometer 7 ช่วงคลื่น
ETM+ multispectral scanning radiometer 8 ช่วงคลื่น
แต่ละภาพ (กว้าง 183 กม. ยาว 170 กม.) มีขนาดข้อมูล 3.8 gigabits
การควบคุมดาวเทียม (up and down link) S-band การส่งสัญญาณข้อมูล (down link) X-band
จาก:http://www.sc.chula.ac.th/courseware/natsci/RSLandsat.htm
2.ดาวเทียมไทยคม
ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) เป็นชื่อของดาวเทียมสื่อสาร ที่ดำเนินการจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม และบริหารโครงการโดยบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
ชื่อ ไทยคม เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานมาจากคำว่า Thai Communications ในภาษาอังกฤษ
ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 5 ดวงคือ
ทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย รุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)
เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก ใช้ชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงใช้ชื่อว่า ไทยคม 1A
ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E
ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่ 2 ของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย, ยุโรป, ออสเตรเลียและแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ดาวเทียมไทยคม 3 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ มีน้ำหนักมากที่สุด ถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ไอพีสตาร์ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี
ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E
ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A รุ่นเดียวกับไทยคม 3 สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3 มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

จาก:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A1
3. ดามเทียม THEOS
THEOS (Thailand Earth Obser-vation Satellite) ได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี (Design Life) เช่นเดียวกับดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO : Low Earth Orbit) แต่อาจมีอายุการใช้งานได้นานกว่าที่ออกแบบไว้ สามารถสำรวจได้ครอบคลุมทั่วโลก บันทึกข้อมูลได้ทั้งในช่วงที่คลื่นตามองเห็น (Visible) สามช่วงคลื่น คือ ช่วงคลื่นแสง สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน และช่วงคลื่น อินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) การโคจรของดาวเทียม ขณะอยู่ในช่วงที่มีแสงสว่างจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 200 องศาเซลเซียส ในขณะที่โคจรกลับมาทางด้านมืดจะมีอุณหภูมิต่ำประมาณ -200 องศาเซลเซียส ส่วนประกอบของดาวเทียมจึงต้องมีสภาพทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ดังนั้น จึงใช้ส่วนประกอบที่ผลิตจาก Silicon Carbide ซึ่งมี คุณสมบัติเหมาะสมต่อการทนสภาพอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
ดาวเทียม THEOS มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม โคจร ในระดับความสูง 822 กิโลเมตร ซึ่งเป็นวงโคจรเดียวกับ ดาวเทียม SPOT มีระบบการบันทึกภาพสองระบบ คือ Panchromatic กับระบบ Multispectral โดย Panchromatic จะเป็นระบบที่แสดงภาพเป็นขาว-ดำ รายละเอียดภาพสองเมตร ความกว้างแนวถ่ายภาพ 22 กิโลเมตร ส่วน Multispectral จะแสดงเป็นภาพสี รายละเอียดภาพ 15 เมตร ความกว้างของแนวถ่ายภาพ 90 กิโลเมตร On-board Memory ที่ 51 GB ในกรณีที่ดาวเทียมโคจร ไปในจุดที่ไม่มีสถานีรับสัญญาณก็สามารถที่จะเก็บภาพไว้บนตัวดาวเทียม ซึ่งสามารถเก็บได้ถึง 100 ภาพ
ดาวเทียม THEOS สามารถนำมา ใช้ประโยชน์ในการสำรวจหาข้อมูลและทำแผนที่เพื่อการ จัดการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ประเทศไทยได้เป็นอย่างดี เช่น การสำรวจหาชนิดของ พืชผลการเกษตร การประเมินหาผลผลิตทางการเกษตร การสำรวจหาพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ การสำรวจหาพื้นที่ป่าไม้ ที่ถูกบุกรุกทำลาย การประเมินหาพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ การสำรวจหาพื้นที่สวนป่า การสำรวจหาชนิดป่า การสำรวจ หาพื้นที่ที่ทำนากุ้งและประมงชายฝั่ง การสำรวจหา มลพิษจากคราบน้ำมันในทะเล การสำรวจหาแหล่งน้ำ การสำรวจแหล่งชุมชน การสำรวจหาพื้นที่ปลูกฝิ่น การวางผังเมือง การสร้างถนน และการวางแผนจราจร การทำ แผนที่ การสำรวจหาพื้นที่เกิดอุทกภัย การสำรวจหาพื้นที่ แผ่นดินถล่ม และสำรวจหาพื้นที่ที่ประสบภัยสึนามิ (Tsunami) เป็นต้น
4.ดาวเทียม Insat-3A
หน่วยงาน: Insat ประเทศเจ้าของ: อินเดีย
ชื่อดาวเทียม: Insat-3A
วัตถุประสงค์: เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการสื่อสารและอุตุนิยมวิทยา
ชนิดของดาวเทียม: ISRO: I-3000
น้ำหนัก: 2,950 กิโลกรัม เมื่อไม่รวมเชื้อเพลิงหนัก 1,348 กิโลกรัม
ขนาด: 2.0 x 1.77 x 2.8 เมตร เมื่อกางออกจะมีขนาด ยาว 24.4 เมตร กว้าง 8.5 เมตร
กำลังไฟฟ้า: 3,100 วัตต์
การปล่อยดาวเทียม: ถูกปล่อยเข้าสู่วงโคจรโดยจรวด Ariane-5G เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2546
วงโคจร: Geostationary Orbit ที่ตำแหน่ง 93.5 องศาตะวันออก
อายุใช้งาน: 12 ปี
อุปกรณ์:
อุปกรณ์ทวนสัญญาณย่าน S แบนด์ 1 ช่อง
อุปกรณ์ทวนสัญญาณย่าน C แบนด์ รวม 12 ช่อง
อุปกรณ์ทวนสัญญาณย่าน Ku แบนด์ รวม 6 ช่อง
อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย
· Very High Resolution Radiometer (VHRR) ขนาด 3 แบนด์ ความละเอียด 2 กิโลเมตร
· กล้อง CCD ความละเอียดของภาพ 1 กิโลเมตร
· อุปกรณ์ทวนสัญญาณ Data Relay Transponder ย่าน UHF
· Satellite Aided Search and Rescue
พื้นที่ให้บริการ: ประเทศอินเดียและประเทศข้างเคียง
รายละเอียดดูที่ http://www.isro.org/insat3a/page2.htm
5.ดาวเทียม Telstar-18

หน่วยงาน: APT Satellite Comp. ประเทศเจ้าของ: จีน
ชื่อดาวเทียม: Telstar-18, Apstar-5
วัตถุประสงค์: เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการสื่อสาร
ชนิดของดาวเทียม: Space Systems Loral (SSL): LS-1300
น้ำหนัก: 4,640 กิโลกรัม
ขนาด:
กำลังไฟฟ้า: 10,600 วัตต์
การปล่อยดาวเทียม: ถูกปล่อยเข้าสู่วงโคจรโดยจรวด Zenit-3SL เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547
วงโคจร: Geostationary Orbit ที่ตำแหน่ง 138.0 องศาตะวันออก
อายุใช้งาน: 13 ปี
อุปกรณ์:
อุปกรณ์ทวนสัญญาณย่าน C แบนด์ รวม 38 ช่อง กำลังส่งช่องละ 60 วัตต์
อุปกรณ์ทวนสัญญาณย่าน Ku แบนด์ รวม 16 ช่อง กำลังส่งช่องละ 141 วัตต์
พื้นที่ให้บริการ:
ย่าน C แบนด์ เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮาวาย
ย่าน Ku แบนด์ จีน อินเดีย ไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน ๑๕, ๒๕๕๐

คำศัพท์โทรคมนาคม

1.signal-to-noise ratio
อัตราส่วนระหว่างสัญญาณและสิ่งรบกวน อัตราส่วนระหว่างข้อความที่เป็นประโยชน์กับการโต้เถียงและการโต้ตอบกันไปมาที่นับว่าเป็นสิ่งรบกวนผู้อื่นในยูสเนต กลุ่มอภิปรายที่ดีๆ จะมีอัตราส่วนนี้สูงในขณะที่กลุ่มอภิปรายที่ไม่ค่อยดีจะมีอัตราส่วนนี้ต่ำ คำนี้แต่เดิมแล้วจะใช้ในวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่ออธิบายถึงอัตราส่วนของสารสนเทศกับสิ่งรบกวนที่เกิดขึ้นในวงจรไฟฟ้า
การประชุมทางไกล การประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่โดยอาจอยู่ต่างเมืองหรือต่างประเทศก็ได้ แต่สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้โดยใช้อุปกรณ์โทรคมนาคม อุปกรณ์ที่ใช้อาทิเช่น ลำโพง เครื่องขยายเสียง จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านพิกัดภาพ และโทรศัพท์
http://www.cybered.co.th/library/32.htm

3.telecommute
ทำงานทางไกล การทำงานอยู่ที่บ้านในขณะที่มีการเชื่อมต่อกับสำนักงานโดยอุปกรณ์โทรคมนาคม ได้แก่ สายโทรศัพท์เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และโมเด็ม
สัญญาณแทรกข้าม (วงจร)สัญญาณรบกวนที่เกิดจากสายเคเบิลอยู่ชิดติดกันมากเกินไป เราอาจได้ยินสัญญาณนี้หรือเสียงอื่นแทรกเข้ามาในขณะที่กำลังพูดโทรศัพท์ หรือสัญญาณที่เกิดขึ้นในการเล่นจานวีดิทัศน์ จะเป็นเส้นสีขาวพาดขวางภาพอันเกิดจากการที่แสง เลเซอร์ไม่โฟกัสบนผิวหน้าของแผ่นหรือเกิดจากความสกปรกบนแผ่
http://www.cybered.co.th/library/05.htm

5.Advanced Mobile Phone System
หมายถึง ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบแอนะล็อกเกิดขึ้นครั้งแรกในอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1980 (๑๙๘๐) ซึ่งระบบ AMPS ถือเป็นต้นกำเนิดระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบแอนะล็อกและเป็นต้นแบบของระบบโทรศัพท์ที่ใช้คลื่นวิทยุที่พัฒนามาจนมีความก้าวหน้ามาตามลำดับ ทำงานในความถี่ช่วง ๘๐๐ เมกะเฮิร์ช มีแบนด์วิดท์ขนาด ๓๐ กิโลเฮิร์ช ส่วนใหญ่ใช้ในประเทศแถบ อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา ออสเตรเลีย และบางพื้นที่ของรัสเซียและเอเชีย
http://www.ttepedia.com/index.php/Advanced_Mobile_Phone_System

6.acknowledge character
หมายถึง ข้อมูลเพื่อการควบคุมการสื่อสัญญาณที่ส่งจากสถานีปลายทาง (ภาครับ) กลับมายังสถานีต้นทาง (ภาคส่ง)เพื่อเป็นการตอบรับว่าได้รับข้อมูลที่ส่งมาแล้วหลังจากการตรวจสอบจากทางภาครับแล้วว่าถูกต้องครบถ้วน
หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มตัวเลขหน้าหมายเลขโทรศัพท์ที่ผู้ใช้งานต้องการโทรออกจะต้องทำการเรียกใช้งานก่อนเพื่อจะเชื่อมต่อไปยังชุมสายที่ต้องการนั้นๆ เช่น รหัสการเชื่อมต่อระหว่างประเทศหรือเพื่อการโทรออกต่างประเทศ (ระบบโทรศัพท์พื้นฐานปกติ) 001 ใช้สำหรับประเทศไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง หมายเลข 00 ใช้สำหรับประเทศสวีเดน และหมายเลข 011 ใช้สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
"
http://www.ttepedia.com/index.php/Access_code"

8.Bandwidth
ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps
"
http://library.stjohn.ac.th/WebTechno/jargon.html"

9.WAP
ย่อมาจาก Wireless Application Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร และถ่ายโอนข้อมูลในระบบของอุปกรณ์ สื่อสารไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ , PDA หรือเครื่อง Palm เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถใช้บริการต่าง ๆ ผ่าน อินเตอร์เน็ตได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
http://www.pyayam.com/pym_article/show.php?Category=abbreviation&No=314

10.EDGE Enhanced Data Rates for Global Evolution
เทคโนโลยีระดับ G3 ตามมาตราฐานโลก ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ในระบบ GSM มีอัตราการรับส่งข้อมูลถึง 236 kbps
http://www.it-guides.com/techno/shortword.html

11.MIMO Multiple in, multiple out
เทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่สามารถเพิ่มช่องส่งสัญญาณและพื้นที่ได้โดยใช้เสาอากาศหลายๆ ตัว (Wireless Technology)
http://www.it-guides.com/techno/shortword.html

12.channel
ช่อง, ช่องสัญญาณ, ช่องสื่อสาร ใช้ได้ 2 ความหมาย ดังนี้ 1. ช่องสื่อสารข้อมูลระหว่างหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล หรือระหว่างหน่วยประมวลผลกลางกับอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ 2. ในความหมายของสื่อประสม (multimedia) หมายถึง ช่องสัญญาณเสียงสเตริโอซ้ายและขวาของจานวีดิทัศน์และจานคอมแพ็กต์
http://www.cybered.co.th/library/05.htm

13.multiplex
หลายทาง การส่งสัญญาณพร้อมกันหลายสัญญาณไปในช่องสื่อสารเพียงช่องเดียวในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN)ในข่ายงานที่ใช้การส่งสัญญาณลักษณะนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์มากกว่าเครื่องหนึ่งสามารถเข้าถึง ข่ายงานได้ทีเดียวพร้อมๆ กัน แต่จะทำให้ต้นทุนของข่ายงานสูงขึ้นเนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ ต้องรวมความสามารถในการรวมสัญญาณเพื่อส่งในช่องทางเดียวเข้าไว้ด้วย
เสียงรบกวน, สัญญาณรบกวน สัญญาณไฟฟ้าที่ไม่เป็นที่ต้องการที่เกิดขึ้นในช่องทางการสื่อสารของการสื่อสารข้อมูล ซึ่งไม่ใช่สัญญาณที่มีข้อมูลที่เราต้องการ ปกติแล้วช่องทางการสื่อสารทั้งหมดจะมีสัญญาณรบกวนอยู้ด้วยเสมอ แต่ถ้ามีมากเกินไปก็จะทำให้ข้อมูลที่ส่งมาสูญหายไปได้ การส่งข้อมูลทางสายโทรศัพท์มักจะมีสัญญาณรบกวนอยู่ด้วย จึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรมการสื่อสารที่สามารถตรวจสอบความผิดพลาดเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นไม่มีส่วนที่เสียไป
เครื่องขยายสัญญาณ,เครื่องทวนสัญญาณ อุปกรณ์ในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) ที่ใช้ในการขยายความยาวของสายเคเบิลในข่ายงานโดยขยายความถี่ของการสั่นสะเทือนและส่งผ่านไปกับข้อความที่เดินทางไปในข่ายงาน ดู bridgeและ routerประกอบ